วันเสาร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2555

การทำเจนฯจากไดชาร์จรถยนต์(Car alternator)



ไดชาร์ทโดยส่วนมากที่มีใช้อยู่ในรถยนต์จะเป็นแบบที่ต้องใช้ไฟเข้าไปเลี้ยงที่ชุด field coilหากเราไม่ต่อกับแบตเตอร์รี่ เจนเนอร์เรเตอร์ก็ไม่สามารถที่จะจ่ายกระแสไฟฟ้าออกมาให้เราใช้ได้  หรือเรียกอย่างง่ายๆเราจะเรียกว่า "ไดชาร์จ"จะพบเห็นโดยทั่วไปซึ่งจะต้องใช้ร่วมกับแบตเตอร์รี่ แบบนี้ถ้าใช้เพียงไดชาร์จอย่างเดียวไม่ได้เพระว่าต้องใช้ไฟป้อนเข้าไปในฟีลคอล์ย(field coil)เพื่อไปสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้า
                                 ส่วนประกอบต่างๆภายในไดชาร์จ(car alternator )
รูปผ่าตัดให้เห็นโครงสร้างภายใน
ลักษณะส่วนประกอบภายในของไดชาร์จ
                                                                                           



ชุดไดโอดบริด




                                  ชุด Field coil ที่จะต้องป้อนไฟเข้าไปเพื่อสร้างสนามแม่เหล็ก

สังเกตุที่แปรงถ่าน(Carbon brushes)ซึ่งสัมผัสติดอยู่กับวงแหวนทองแดง(Slip ring)

ด้านล่างนี้เป็นแบบที่มีแม่เหล็กอยู่ภายใน

แบบแม่เหล็กถาวรที่ติดตั้งกับรถยนต์ไฮบริด

ไดชาร์ทโดยส่วนมากที่มีใช้อยู่ในรถยนต์จะเป็นแบบที่ต้องใช้ไฟเข้าไปเลี้ยงที่ชุด field coilหากเราไม่ต่อกับแบตเตอร์รี่ เจนเนอร์เรเตอร์ก็ไม่สามารถที่จะจ่ายกระแสไฟฟ้าออกมาให้เราใช้ได้ ในขณะเดียวกันถ้าเราต้องการได้ไฟมาก เราก็ต้องป้อนไฟเข้าไปเลี้ยงที่ชุดฟีลคอยล์(field coil)มากตามไปด้วย ฉะนั้นทางผู้ผลิตจึงต้องสร้างชุดควบคุม (control unit) หรือเรียกตามประสาช่างโดยทั่วไปว่า "คัตเอ้าว์" ซึ่งจะติดตั้งอยู่ที่ด้านหล้งของเจนฯตัวนั้นโดยปิดอย่างมิดชิด(ตามรูปด้านล่าง)หรือมีชุดควบคุมอยู่ภายนอก

สำหรับผมนั้น " Regurator "ตัวนี้แหล่ะคือปัญหาในการทำ " กังหันน้ำ" เนืองจากเรามีน้ำน้อยแต่อยากจะได้ไฟฟ้าที่มากกว่า ก็เลยแก้ปัญหาโดยการถอดรื้อไดชาร์จออกมา แล้วตัดวงจรชุดควบคุม ( Regurator)ออกไป ต่อไฟเข้าโดยตรงที่ชุดแปรงถ่าน (รูปด้านล่างหมายเลข 1)
ตัดเอาชุดควบคุมเดิมออกแล้วใช้ PWM
ใช้ได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น ได้ไฟมากกว่าเดิมประมาณ 1-2แอมป์ ถือว่ายังน้อยมาก ก็เลยตัดสินใจหาอุปกรณ์ทางด้านเครืองกลเข้ามา โดยหาสวิทช์มาทำการเปิด-ปิด โดยอาศัยหลักการง่ายๆของคอล์ยจุดระเบิดในเครื่องยนต์แก็สโซลีน( เบนซิน )ซึ่งใช้ลูกเบี้ยว( camshaft )มาทำหน้าที่ร่วมกับ " คอนแทคสวิทช์"ทำงานร่วมกับ รีเลย์ (Relay)ที่ใช้ในรถยนต์ทั่วไป แต่ก็ยังมีปัญหาตามมาคือ ต้องเปลี่ยนรีเลย์บ่อยๆที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะหน้าสัมผัสของมันไหม้ สุดท้ายก็ได้พัฒนาดัดแปลงเป็นวงจรอีเลคทรอนิคซึ่งใช้ไอซี 555 มาเป็นพระเอก มาทำหน้าที่แทนในการควบคุมไฟที่ชุด"ฟีลคอล์ย"โดยจะขอเรียกว่า วงจร "PWM"( Pulse Width Modulation
วงจรPWM
         สำหรับวงจร "PWM"นี้ หาซื้อได้จากชุดคิทที่ประกอบสำเร็จของ"Future Kit"พร้อมใช้งานเป็นวงจรควบคุมความเร็วมอเตอร์ดีซี ขนาดไม่เกิน10A.ก็เพียงพอแล้วและสามารถนำมาใช้งานได้เป็นอย่างดี.............
         ปรากฏว่าได้ไฟมากกว่าเดิมประมาณ1.5- 2 เท่า คือเดิมได้ไฟ4-5แอมป์ เพิ่มขึ้นไปเป็น9-10 แอมป์ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่ารอบของกังหันน้ำไม่ตก มาถึงตอนนี้หลายท่านคงจะพอเข้าใจ สำหรับผมนั้นยังไม่เป็นที่พอใจ ไม่ละความตั้งใจเดิมว่าจะต้องได้ไฟมากที่สุดและต้องไม่เพิ่มค่าใช้จ่ายในการลงทุนมากนัก ก็เลยคิดว่าจะต้องทำให้รอบของกังหันน้ำตัวนี้เพิ่มมากขึ้น โดยการใช้เกียร์ทดที่ไม่เกิน 1:5 ที่ง่ายที่สุดคือ เกียร์ทดของเครืองซักผ้าชนิดถังเดี่ยว ทดลองทำแบบนี้ผลที่ได้คือ ชุดเกียร์พัง ครับ หมดเงินไป4,000บาทกว่า ทดลองทำ4ชุด ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่ารอบกังหันน้ำของผมเพิ่มขึ้นไปเป็น เกือบ 4,000 รอบ/นาที ได้ไฟมากกว่าเดิมครับประมาณ20แอมป์ การทำเจนฯจากไดชาร์จเหมาะมากสำหรับการทำกังหันน้ำถึงแม้ว่าเราจะต้องป้อนไฟให้ก่อน แต่เราก็ยังมีกำไรมากทีเดียว และที่ดีมากก็ตรงที่ว่าใช้เงินน้อย หาไดชาร์จได้ทั่วไป ร้านขายของเก่าก็มี เขาชั่งขายเป็นกิโลๆละ 30 บาทรวมแล้วร้อยกว่าบาทเท่านั้นเอง หรือสำหรับคนที่อยากได้แบบทันใจ ก็ไปหาซื้อที่ร้านซ่อมไดชาร์จรถยนต์ง่ายดีครับไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ขนาดที่ผลิตไฟมาก ขอแนะนำให้เริ่มต้นที่ขนาด 40-60 แอมป์ก็เพียงพอ การที่เราจะเลือกซื้อขนาดแอมป์สูงเป็นการสิ้นเปลืองเงินโดยใช่เหตุและไม่จำเป็น หากจะทำแบบครั้งเดียวจบเลยขอให้ท่านที่สนใจทำกังหันน็ำได้ถ่ายวิดีโฮขนาดไม่เกิน 15-60วินาที (หรือตามที่สะดวก ตรงพื้นที่ที่จะทำกังหันน้ำ)ส่งไปทาง email: keerati.s57@gmail.com This e-mail address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. เพื่อจะได้แนะนำการเลือกซื้อขนาดของเจนเนอร์เรเตอร์ให้เหมาะกับพื้นที่นั้นๆต่อไป โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น สำหรับการทำเจนเนอร์เรเตอร์จากไดชาร์จ ไม่แนะนำให้ไปใช้กับกังหันลมก็เพราะว่ารอบของไดชาร์จจะสูงและต้องจ่ายไฟไปเลี้ยงฟิลคอล์ย( Field coil )ตลอดเวลาจึงไม่เหมาะสม
    หรือหากท่านใดยังต้องการทำไดชาร์จแบบไม่ต้องการใช้ชุดควบคุมดังกล่าวฯก็เพียงแต่ถอดเอาชุดRotor(ส่วนที่หมุนซึ่งอยู่ตรงกลางต่อกับชุดแปรงถ่าน)นำมาติดแม่เหล็กแรงสูง(Neodymium)ตามรูปด้านล่าง ท่านก็จะได้ชุดRotorแบบแม่เหล็กถาวรโดยไม่ต้องใช้ไฟจากแบตเตอรี่ไปเลี้ยงชุด Field coil อีกต่อไปและให้ดึงเอาชุดแปรงถ่านออกเพราะไม่มีความจำเป็นจะต้องใช้อีกต่อไป
แม่เหล็กแรงสูงติดรอบนอก

เตรียมแม่เหล็ก
ใช้กาวEpoxyช่วยในการยึดติด

ติดแม่เหล็กแรงสูงให้ถูกต้องตามขั้วบวก-ลบ สลับกัน
ข้อแนะนำสำหรับการติดแม่เหล็กแรงสูงตามภาพข้างบนนี้ ให้พยายามติดให้มากที่สุดเท่าที่จะติดตั้งได้และจัดวางขั้วแม่เหล็กให้ถูกต้องและไม่จำเป็นที่จะต้องซื้อไดชาร์จของใหม่ มาทำการดัดแปลงเพราะไม่ว่าจะเป็นของใหม่หรือของมือสอง(ของเก่า)ก็ได้ไฟเท่ากันทุกประการ.แล้วทำไมจะต้องเสียเงินมากเกินความจำเป็น
.................................................................................
ขอให้ทุกท่านมีความสุขกับการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน

การทำกังหันน้ำจากมอเตอร์

การทำเจนเนอร์เรเตอร์ผลิตไฟฟ้าจากมอเตอร์ 3 Phase
มีวิธีการทำ Generator ผลิตไฟฟ้าราคาถูก โดยใช้มอเตอร์ 3 Phase. พร้อมกับ Capacitor มาต่อดังรูปด้านล่างก็จะสามารถผลิตไฟฟ้าออกมาเป็น 220 Vacพร้อมที่จะนำไปใช้งานได้เลยโดยที่เราไม่ต้องดัดแปลงใดๆ
โดยการหมุน Motor ให้รอบมากกว่ารอบเดิมของMotorตัวนั้นอีก 10 %. Motor ก็จะผลิตกระแสไฟฟ้าออกมา 220 Vac ( คร่อมขา C )หลังจากต่อ Capacitor และทดสอบต่อหลอดไฟ 100 Watt 10 หลอด ( 1,000 Watt )สามารถใช้งานได้ดีไม่มีปัญหา. Motor ที่ใช้ 1.5Kw 220/380 3 Phase ,950รอบ (6pole)ค่า C ขึ้นอยู่กับขนาดของ Motor คงต้องทดลองกันเองละครับ ผมขอแนะนำใหเริ่มที่มอเตอร์ไม่เกิน1Kwก่อนครับเพราะหาของได้ง่ายราคาไม่น่าจะเกิน3,500บาทและใช้Capacitor1c=20uf400volt(AC)แค่นี้ท่านก็จะได้Generatorที่ไม่มีแปรงถ่านมาใช้แล้วครับแต่อาจจะต้องปรับค่าของCapacitorอีกเล็กน้อยเพื่อให้เหมาะกับประสิทธิภาพของมอเตอร์ตัวนั้นที่ใช้อยู่ครับและแทนที่เราจะใช้มอเตอร์มาปั่น(หมุน)มัน เราทำใบกังหันแล้วใช้น้ำฉีดให้มันหมุนแทน เราก็จะได้กังหันน้ำปั่นไฟไว้ใช้ หรือจะนำปั้มน้ำหอยโข่งมาดัดแปลงก็ได้ ข้อดีของการต่อแบบนี้คือถูกมากๆ หาอุปกรณ์ได้ทั่วไป ข้อเสียคือจะได้ไฟแค่70-80%ของกำลัง Motor(ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของมอเตอร์) ถ้าใช้มากกว่าอาจทำให้ Motor เสียได้(ขดลวดไหม้)ครับ แนะนำให้ใช้ไฟไม่เกิน 60%ของไฟฟ้าที่ได้ครับ ถ้าทำได้เช่นนี้ท่านก็สามารถใช้ได้นานแสนนานครับ

ทำจากปั้มน้ำที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว







การพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน